วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บรรณานุกรม

1. โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง “หญ้าหนวดแมว” 2529, หน้า 8-10, 24
2. พะเยา เหมือนวงษ์ญาติ "สมุนไพรก้าวใหม่" 2537,หน้า 73
3. จุลสารข้อมูลสมุนไพร ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 ,2536 , หน้า 2
4. จุลสารข้อมูลสมุนไพร ปีที่ 14(4) , 2540, หน้า 13-14

ข้อเสนอแนะ

1.เราสามารถทำการทดลองกับสมุนไพรชนิดอื่นๆได้
2.เราสามารถนำไปประยุกต์ทำเป็นอย่างอื่นนอกจากแคปซูล

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำแคปซูลยาสมุนไพร
2.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสรรพคุณยาของหญ้าหนวดแมวมากขึ้นกว่าเดิม

สรุปผลการทดลอง

จากการทดลองสรุปได้ว่า การทำแคปซูลสมุนไพรหญ้าหนวดแมว ในใบหญ้าหนวดแมวมีเกลือโพแตสเซียม ในปริมาณที่สง งจากที่ทำออกมาเป็นแคปซูลแลวทำให้มีความสะดวกในการบริโภค และทำให้ทราบถึงกระบวนการผลิตสามารถเก็บไว้ได้นาน ควรตากใบให้แห้งก่อนนำมาบดและกรองก่อนใส่ลงในแคปซูล หลังจากที่บดละเอียดแล้วหญ้าหนวดแมวยังคงมีสีเขียวดังเดิม

อุปกรณ์และวิธีการทดลอง

1.วัสดุ
ใบหญ้านวดแมวที่ตากแห้งแล้ว
2.อุปกรณ์
-เครื่องบด
-เครื่องกรอง
-แคปซูลเปล่า
-ขวดบรรจุภัณฑ์
3.วิธีการทดลอง
1. นำใบต้นหญ้าหนวดแมวไปตากแดดให้แห้งสนิทประมาณ 2 วัน

2. นำไปบดในเครื่องบดให้ละเอียด
3. รองด้วยเครื่องกรองเพื่อเอากากออก
4. นำไปบรรจุลงแคปซูลจากนั้นใส่บรรจุภัณฑ์




ตัวแปร

ตัวแปรต้น
หญ้าหนวดแมว
ตัวแปรตาม
การดูแล แสงแดด อุณหภูมิ
ตัวแปรควบคุม
-

สมมุติฐานของการศึกษา

1.สรรพคุณต่างๆของหญ้าหนวดแมว
2.การทำแคปซูลยาสมุนไพรหญ้าหนวดแมว

ขอบเขตของโครงงาน

ศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณและคุณค่าต่างๆของหญ้าหนวดแมว

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

เนื่องด้วยปัจจุบันผู้คนนิยมหันมานิยมบริโภคสมุนไพรมากขึ้น หญ้าหนวดแมวเป็นสมนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณทางยาบำรุงร่างกาย และสามารถหาได้ง่ายทั่วไป คณะผู้จัดทำจึงดำเนินการนำหญ้าหนวดแมวมาศึกษาและทำการทดลอง รวมทั้งหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อประกบการศึกษา ค้นคว้า พบว่าหญ้าหนวดแมวมีสรรพคุณในด้านการขับปัสสาวะรักษานิ่วจึงได้นำมาทำเป็นแคปซูล หญ้าหนวดแมว เป็นตัวอย่างในการศึกษาและเพื่อการหาแนวทางในการพัฒนาต่อไปคณะผ้จัดทำจึงคิดค้นโครงงานโดยหยิบประเด็นเรื่องหญ้าหนวดแมวขึ้นมา

บทคัดย่อ

หญ้าหนวดแมวเป็นพืชที่ปลูกอยู่ทั่วไปตามบ้าน มีดอกขาวสวย ออกดอกเกือบทั้งปี จึงเป็นไม้ประดับที่สวยงาม นอกจากนั้นยังมีคุณค่าทางการรักษา เกสรตัวผู้ยื่นยาวออกมานอกกลีบดอก ทำให้มีลักษณะคล้ายหนวดแมว จึงมีคนเรียกพืชชนิดนี้ว่า หญ้าหนวดแมวหญ้าหนวดแมว เป็นพืชที่ปลูกง่ายนิยมปลูกโดยการปักชำ หรือใช้เมล็ด ขึ้นง่าย เติบโตได้เร็ว ปลูกเป็นแปลงผัก หรือปลูกในกระถาง หญ้าหนวดแมวมีชื่อพื้นเมือง เช่น พยัพเมฆ, บางรักป่า, อีตู่ดง สารสำคัญ ในใบของหญ้าหนวดแมว มีเกลือโปแตสเซียม ในปริมาณ สูง 0.7-0.8 %ใช้ปัสสาวะ ขับนิ่ว ใบอ่อนใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ที่มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากมีเกลือโปแตสเซียมมาก หญ้าหนวดแมวใช้รักษานิ่วได้ทั้งนิ่วด่างซึ่งเกิดจากแคลเซียม (หินปูน) ซึ่งมักจะเป็นก้อนที่เกิดจากการดื่มน้ำที่มีหินปูน และใช้รักษานิ่วกรดซึ่งเกิดจากกรดยูริก นิ่วจำนวนนี้จะไม่เป็นก้อนแต่จะร่วนเป็นเม็ดทราย ไม่ทึบแสง มักเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์มากเกินไป ทำให้มีกรดยูริกสูง เมื่อรับประทานหญ้าหนวดแมว ซึ่งมีโปแตสเซียมสูง จะทำให้ในกรดมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้กรดยูริก และเกลือยูเรต (urate) ไม่จับตัวเป็นก้อน ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการปวด หญ้าหนวดแมวไม่มีฤทธิ์ละลายนิ่ว ดั้งนั้นนิ่วก้อนใหญ่จะไม่ได้ผล ใช้ได้ดีกับนิ่วก้อนเล็กๆ ฤทธิ์ขับปัสสาวะของหญ้าหนวดแมวจะช่วยดันเม็ดนิ่วเล็กๆ ให้หลุดออกมา กลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำการศึกษาทดลองและได้ผลิตภัณฑ์ออกมาในรูปของแคปซูล และได้ทำการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างเพื่อใช้ประกอบการทดลองนี้

โครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์
วิชาชีววิทยา เรื่อง หญ้าหนวดแมว
ผู้จัดทำ
1.นายวสุพล ปั่น เลขที่ 8
2.น.ส.กรรณิกา พงวันนา เลขที่ 10
3.น.ส.ปวีณา กระสุนรัมย์ เลขที่ 17
ชั้นมัธยมศึกษา 6/3
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์รตนัตตยา จันทนะสาโร

โรงเรียนภัทรบพิตร
อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

หญ้าหนวดแมว


หญ้าหนวดแมว

เป็นพืชที่ปลูกอยู่ทั่วไปตามบ้าน มีดอกขาวสวย ออกดอกเกือบทั้งปี จึงเป็นไม้ประดับที่สวยงาม นอกจากนั้นยังมีคุณค่าทางการรักษา เกสรตัวผู้ยื่นยาวออกมานอกกลีบดอก ทำให้มีลักษณะคล้ายหนวดแมว จึงมีคนเรียกพืชชนิดนี้ว่า หญ้าหนวดแมวหญ้าหนวดแมว เป็นพืชที่ปลูกง่ายนิยมปลูกโดยการปักชำ หรือใช้เมล็ด ขึ้นง่าย เติบโตได้เร็ว ปลูกเป็นแปลงผัก หรือปลูกในกระถาง หญ้าหนวดแมวมีชื่อพื้นเมือง เช่น พยัพเมฆ, บางรักป่า, อีตู่ดง
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยาสารสำคัญ
ในใบของหญ้าหนวดแมว มีเกลือโปแตสเซียม ในปริมาณ สูง 0.7-0.8 %ใช้ปัสสาวะ ขับนิ่ว ใบอ่อนใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ที่มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากมีเกลือโปแตสเซียมมาก หญ้าหนวดแมวใช้รักษานิ่วได้ทั้งนิ่วด่างซึ่งเกิดจากแคลเซียม (หินปูน) ซึ่งมักจะเป็นก้อนที่เกิดจากการดื่มน้ำที่มีหินปูน และใช้รักษานิ่วกรดซึ่งเกิดจากกรดยูริก นิ่วจำนวนนี้จะไม่เป็นก้อนแต่จะร่วนเป็นเม็ดทราย ไม่ทึบแสง มักเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์มากเกินไป ทำให้มีกรดยูริกสูง เมื่อรับประทานหญ้าหนวดแมว ซึ่งมีโปแตสเซียมสูง จะทำให้ในกรดมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้กรดยูริก และเกลือยูเรต (urate) ไม่จับตัวเป็นก้อน ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการปวด หญ้าหนวดแมวไม่มีฤทธิ์ละลายนิ่ว ดั้งนั้นนิ่วก้อนใหญ่จะไม่ได้ผล ใช้ได้ดีกับนิ่วก้อนเล็กๆ ฤทธิ์ขับปัสสาวะของหญ้าหนวดแมวจะช่วยดันเม็ดนิ่วเล็กๆ ให้หลุดออกมา
ข้อแนะนำและวิธีการใช้
ใช้ยอดอ่อน (ซึ่งมีใบอ่อน 2 ? 3 ใบ) ควรเก็บช่วงที่หญ้าหนวดแมวกำลังออกดอก เพราะจะเป็นช่วงที่มีสารสำคัญมาก (แต่ไม่ใช้ดอก) นำมาหั่นเป็นท่อนสั้นๆตากแดดให้แห้งแล้วใช้ 1 หยิบมือ (2 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ปิดฝาทิ้งไว้ 5 ? 10 นาที ดื่มขณะร้อนๆ วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร และต้องดื่มน้ำตามมากๆข้อควรระวังเนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีเกลือโปแตสเซียมสูง จึงไม่ควรใช้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ ควรใช้การชง ไม่ควรใช้การต้มและควรใช้ใบอ่อน ไม่ใช้ใบแก่ เพราะอาจมีสารละลายออกมามากเกินไป ทำให้มีฤทธิ์กดหัวใจ ถ้าใช้ใบสดจะมีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่น จึงควรใช้ใบตากแห้ง สารจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยาจำพวกแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น จึงไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน