วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หญ้าหนวดแมว


หญ้าหนวดแมว

เป็นพืชที่ปลูกอยู่ทั่วไปตามบ้าน มีดอกขาวสวย ออกดอกเกือบทั้งปี จึงเป็นไม้ประดับที่สวยงาม นอกจากนั้นยังมีคุณค่าทางการรักษา เกสรตัวผู้ยื่นยาวออกมานอกกลีบดอก ทำให้มีลักษณะคล้ายหนวดแมว จึงมีคนเรียกพืชชนิดนี้ว่า หญ้าหนวดแมวหญ้าหนวดแมว เป็นพืชที่ปลูกง่ายนิยมปลูกโดยการปักชำ หรือใช้เมล็ด ขึ้นง่าย เติบโตได้เร็ว ปลูกเป็นแปลงผัก หรือปลูกในกระถาง หญ้าหนวดแมวมีชื่อพื้นเมือง เช่น พยัพเมฆ, บางรักป่า, อีตู่ดง
ฤทธิ์และประโยชน์ทางยาสารสำคัญ
ในใบของหญ้าหนวดแมว มีเกลือโปแตสเซียม ในปริมาณ สูง 0.7-0.8 %ใช้ปัสสาวะ ขับนิ่ว ใบอ่อนใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ที่มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากมีเกลือโปแตสเซียมมาก หญ้าหนวดแมวใช้รักษานิ่วได้ทั้งนิ่วด่างซึ่งเกิดจากแคลเซียม (หินปูน) ซึ่งมักจะเป็นก้อนที่เกิดจากการดื่มน้ำที่มีหินปูน และใช้รักษานิ่วกรดซึ่งเกิดจากกรดยูริก นิ่วจำนวนนี้จะไม่เป็นก้อนแต่จะร่วนเป็นเม็ดทราย ไม่ทึบแสง มักเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์มากเกินไป ทำให้มีกรดยูริกสูง เมื่อรับประทานหญ้าหนวดแมว ซึ่งมีโปแตสเซียมสูง จะทำให้ในกรดมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้กรดยูริก และเกลือยูเรต (urate) ไม่จับตัวเป็นก้อน ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการปวด หญ้าหนวดแมวไม่มีฤทธิ์ละลายนิ่ว ดั้งนั้นนิ่วก้อนใหญ่จะไม่ได้ผล ใช้ได้ดีกับนิ่วก้อนเล็กๆ ฤทธิ์ขับปัสสาวะของหญ้าหนวดแมวจะช่วยดันเม็ดนิ่วเล็กๆ ให้หลุดออกมา
ข้อแนะนำและวิธีการใช้
ใช้ยอดอ่อน (ซึ่งมีใบอ่อน 2 ? 3 ใบ) ควรเก็บช่วงที่หญ้าหนวดแมวกำลังออกดอก เพราะจะเป็นช่วงที่มีสารสำคัญมาก (แต่ไม่ใช้ดอก) นำมาหั่นเป็นท่อนสั้นๆตากแดดให้แห้งแล้วใช้ 1 หยิบมือ (2 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 แก้ว ปิดฝาทิ้งไว้ 5 ? 10 นาที ดื่มขณะร้อนๆ วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร และต้องดื่มน้ำตามมากๆข้อควรระวังเนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีเกลือโปแตสเซียมสูง จึงไม่ควรใช้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ ควรใช้การชง ไม่ควรใช้การต้มและควรใช้ใบอ่อน ไม่ใช้ใบแก่ เพราะอาจมีสารละลายออกมามากเกินไป ทำให้มีฤทธิ์กดหัวใจ ถ้าใช้ใบสดจะมีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่น จึงควรใช้ใบตากแห้ง สารจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยาจำพวกแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น จึงไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น